Back
53
สาขา/อนุสาขา
11
หลักสูตร

เกี่ยวกับหน่วยการศึกษาหลังปริญญา

          หน่วยการศึกษาหลังปริญญา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นหน่วยงานที่ดำเนินการเกี่ยวกับการฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทางและบริหารจัดการหลักสูตรระดับ บัณฑิตศึกษา หลักสูตรฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทาง เป็นหลักสูตรที่มีวัตถุประสงค์เพื่อฝึกอบรมแพทย์ เฉพาะทางให้เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาต่าง ๆ โดยใช้เวลาในการฝึกอบรมสาขาละ 3–4 ปี มีหน้าที่รับผิดชอบ ขออนุมัติเปิดหลักสูตรฝึกอบรม ประชาสัมพันธ์การรับสมัครแพทย์ประจำบ้าน การฝึกอบรม การประชุม สัมมนา การไปฝึกอบรม ปฐมนิเทศ การลาออก ให้ข้อมูลและให้คำแนะนำ ปรึกษา ควบคุมและตรวจสอบศักยภาพการฝึกอบรม เป็นต้น โดยได้ดำเนินการเปิดฝึกอบรม สาขาแรกคือ สาขากุมารเวชศาสตร์ เมื่อปีการศึกษา 2528 ขณะนี้คณะเปิดหลักสูตรฝึกอบรมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เฉพาะทางสาขาและอนุสาขารวมทั้งสิ้น 53 สาขา

                 นอกจากนี้ยังรับผิดชอบการบริหารจัดการหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา โดยอยู่ภายใต้ การดูแลรับผิดชอบของคณะอนุกรรมการบัณฑิตศึกษาประจำคณะ มีหน้าที่รับผิดชอบ ประสานงาน กับทางภาควิชาและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เปิดสอบหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา ปรับปรุงหลักสูตร ดำเนินการส่งระดับขั้น ลงทะเบียนเรียน จัดปฏิทินการศึกษา การจัดทำวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์ เป็นต้น

หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาที่รับผิดชอบ

หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาที่รับผิดชอบมี 11 หลักสูตรดังนี้

 

ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต

1. หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิสัญญีพยาบาล

 

ระดับปริญญาโท

1. หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาระบาดวิทยา

2. หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอาชีวอนามัยอนามัยและความปลอดภัย

3. หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวเวชศาสตร์

4. หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์

5. หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ

 

ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง

 1. หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก

 

ระดับปริญญาเอก

1. หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาระบาดวิทยา

2. หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาชีวเวชศาสตร์

3. หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์

4. หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ