ชั้น 3
อาคารแพทยศาสตรศึกษาราชนครินทร์
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ตำบล หาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ สงขลา 90110
การเรียนรู้ทางการแพทย์ออนไลน์ที่พัฒนาโดย คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษา อาจารย์ บุคลากรทางการศึกษา และผู้สนใจในวิทยาศาสตร์สุขภาพ
ผู้ใช้งานมากกว่า 1,000 คน ที่สนใจและใช้งานสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ
หลักสูตรออนไลน์ระยะสั้น เพื่อการพัฒนา/เพิ่มทักษะ/เพิ่มทักษะให้กับนักเรียน อาจารย์ นักวิชาการศึกษา รวมถึงบุคลากรด้านสุขภาพ และศิษย์เก่า เปิดให้บริการสำหรับบุคคลทั่วไป แบบไม่มีค่าใช้จ่าย
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สำหรับแสดงเนื้อหาตามหลักสูตรที่นำเสนอบทความ แผนภูมิ รูปภาพ วิดีโอและแบบทดสอบ เปิดให้บริการสำหรับผู้สนใจที่มี PSU Passport เท่านั้น
เข้าสู่เว็บไซต์วิดิทัศน์สอนความรู้และอธิบายแนวทางการวินิจฉัยโรคและทักษะทางคลินิกต่างๆ เช่น การสาธิตวิธีการตรวจร่างกายและทำหัตถการทางการแพทย์ เปิดให้บริการสำหรับบุคคลทั่วไป แบบไม่มีค่าใช้จ่าย
เข้าสู่เว็บไซต์โปรแกรมฝึกทักษะการซักประวัติผู้ป่วยเสมือนจริง (Patient Interview Simulation program: PIS program) จำลองสถานการณ์บทบาทความเจ็บป่วย เพื่อให้นักศึกษาใช้ฝึกทักษะการสื่อสารและการซักประวัติผู้ป่วยแบบออนไลน์
เข้าสู่เว็บไซต์โครงการประกวดสื่ออินโฟกราฟฟิก (Infographics) แบบหน้าเดียว ที่มีเนื้อหาของสื่อเกี่ยวกับการเรียนในรายวิชาชั้นปรีคลินิก หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาแพทย์มีส่วนร่วมในการออกแบบและพัฒนาสื่อ
Coming soonPSU-Creating Illness Scripts Exercise (P-CISE) การฝึกสร้าง Illness Scripts เพื่อเพิ่มความมั่นใจในเรื่องของความรู้ทางคลินิก และ การให้เหตุผลทางคลินิกในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยโรค
Coming soonกรุณาเลือกรูปแบบสื่อที่ต้องการขอผลิต
Short online courses for developing teachers and educators including promoting health knowledge for alumni.
หลักสูตรออนไลน์ระยะสั้นสำหรับการพัฒนาอาจารย์และนักวิชาการศึกษา รวมถึงส่งเสริมความรู้ด้านสุขภาพสำหรับศิษย์เก่า
1. ลงทะเบียนขอคิวจัดทำและส่งไฟล์เนื้อหาแบบฟอร์มเสนอคอร์สเรียน
2. อาจารย์ที่ปรึกษาคอร์สเรียน ตรวจและปรับแก้ไขเนื้อหา
3. ประชุมทีมงาน เพื่อออกแบบและวางแผนจัดทำสื่อประกอบ เช่น Sound slide, Binla Book, Binla Channel
4. เจ้าหน้าที่จัดทำคอร์สเรียนในระบบ Binla Academy
5. อาจารย์ที่ปรึกษาคอร์ส ประเมินให้เป็นไปตามเกณฑ์
6. เปิดใช้งานคอร์สเรียนในระบบ Binla Academy
7. เบิกจ่ายทุนอุดหนุน
Electronic book for showing content by curriculum presenting articles, charts, pictures, videos, and quizzes.
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สำหรับแสดงเนื้อหาตามหลักสูตรที่นำเสนอบทความ แผนภูมิ รูปภาพ วิดีโอและแบบทดสอบ
1. ลงทะเบียนขอผลิตบทเรียน
2. เจ้าหน้าที่ตรวจรับเนื้อหาตามแบบฟอร์ม
3. ผลิตบทเรียน
4. วาดรูป / Animation ประกอบบทเรียน
5. อาจารย์เจ้าของบทเรียนตรวจเนื้อหาบทเรียน
6. กรรมการตรวจประเมิน
7. อาจารย์เจ้าของบทเรียนปรับแก้ตามคำแนะนำจากกรรมการตรวจประเมิน
8. เบิกจ่ายทุนอุดหนุน (โอนเข้าบัญชีเจ้าของบทเรียนโดยงานคลัง)
9. เปิดใช้งานบทเรียน
Video clips teach knowledge and explain diagnostic approaches and clinical skills such as demonstrations of physical examinations and medical procedures.
วิดิทัศน์สอนความรู้และอธิบายแนวทางการวินิจฉัยโรคและทักษะทางคลินิกต่างๆ เช่น การสาธิตวิธีการตรวจร่างกายและทำหัตถการทางการแพทย์
1. ลงทะเบียนขอผลิต
2. ตรวจและปรับแก้สคริปท์
3. วาดรูป / Animation /ภาพนิ่ง /วีดีโอ ประกอบเพิ่ม
4. ถ่ายทำ
5. ตัดต่อและปรับแต่งวิดีโอ
6. เปิดใช้งาน ผ่าน Website และ Youtube : Binla Channel
7. เบิกจ่ายทุนอุดหนุน
The Patient Interview Simulation program (PIS program) simulates patient illness scenarios, enabling students to practice communication skills and patient history-taking online.
โปรแกรมฝึกทักษะการซักประวัติผู้ป่วยเสมือนจริง (PIS program) จำลองสถานการณ์บทบาทความเจ็บป่วย เพื่อให้นักศึกษาใช้ฝึกทักษะการสื่อสารและการซักประวัติผู้ป่วยแบบออนไลน์
1. อาจารย์ผู้สนใจ ลงทะเบียนส่งแบบฟอร์มขอผลิตสื่อ และส่งบทบาทความเจ็บปวดของผู้ป่วยเสมือนจริง
2. เจ้าหน้าที่จัดทำเนื้อหา เพิ่มบทบาทความเจ็บป่วย และทดสอบการตอบคำถามและการประเมินผลของโปรแกรม
3. อาจารย์ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลป้อนกลับ (คำตอบของผู้ป่วยเสมือนจริง) และให้คำปรึกษาแก่เจ้าหน้าที่ในการเพิ่มข้อมูลป้อนกลับระหว่างการใช้งาน
4. ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจประเมิน
5. เปิดใช้งาน
6. เบิกจ่ายค่าตอบแทน
One-page infographic contest project for media related to pre-clinical learning in medical students to encourage medical students to design media
โครงการประกวดสื่ออินโฟกราฟฟิก (Infographics) แบบหน้าเดียว ที่มีเนื้อหาของสื่อเกี่ยวกับการเรียนในรายวิชาชั้นปรีคลินิก หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาแพทย์มีส่วนร่วมในการออกแบบและพัฒนาสื่อ
1. กำหนดช่วงเวลาเปิดรับผลงานโดยกำหนดจากหัวข้อการเรียนรู้ของรายวิชา
2. นักศึกษาลงทะเบียนส่งผลงาน
• ส่งผลงานในรูปแบบเดี่ยวหรือกลุ่ม (ไม่เกิน 2 คน)
• มีอาจารย์ที่ปรึกษาในการตรวจความถูกต้องของเนื้อหา
3. ประชุมคณะกรรมการตัดสินผลงาน
4. ประกาศผลการตัดสิน
5. มอบเงินรางวัลสำหรับผู้ชนะการประกวด
6. เปิดใช้งานอินโฟกราฟฟิก
PSU - Creating Illness Scripts Exercise (P-CISE) is a training method aimed at developing illness scripts to enhance confidence in clinical knowledge and clinical reasoning skills, facilitating effective data analysis and accurate diagnosis.
PSU-Creating Illness Scripts Exercise (P-CISE) การฝึกสร้าง Illness Scripts เพื่อเพิ่มความมั่นใจในเรื่องของความรู้ทางคลินิก และ การให้เหตุผลทางคลินิกในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยโรค
1. อาจารย์ผู้สนใจ ลงทะเบียนส่งแบบฟอร์มขอผลิตสื่อ และส่งโจทย์แบบฝึกหัดพร้อมเฉลย (illness script)
2. เจ้าหน้าที่จัดทำเนื้อหา เพิ่ม illness script ทดสอบการใช้งานและการประเมินผลของโปรแกรม
3. อาจารย์ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลป้อนกลับที่ได้จากโปรแกรม (ตรวจผลการประเมินการเขียน illness script ของผู้เรียน)
4. ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจประเมิน
5. เปิดใช้งาน
6. เบิกจ่ายค่าตอบแทน
หน่วยนวัตกรรมการเรียนรู้ดิจิตอล ให้บริการผลิตสื่อการเรียนรู้แก่อาจารย์และบุคลากรทางการแพทย์ที่มีภาระงานด้านการเรียนการสอนนักศึกษาแพทย์ แพทย์ใช้ทุน แพทย์ประจำบ้าน และพยาบาล ของคณะแพทยศาสตร์
1.งานกราฟฟิกเพื่อการเรียนการสอน
ระยะเวลาผลิตงานไม่น้อยกว่า 7 วันทำการ นับตั้งแต่วันส่งไฟล์งาน หรือกรณีงานที่มีรายละเอียดมาก ขึ้นอยู่กับการประสานและกำหนดวันรับงานระหว่างผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการ
2.งานถ่ายรูปกิจกรรมการเรียนการสอน
3.งานบันทึกวิดีโอเพื่อการเรียนการสอน (Sound slide)
4.ขอคำปรึกษาการใช้โปรแกรมผลิตสื่อการเรียนการสอน
5.ขอใช้บริการจองห้องบันทึกวิดีโอเพื่อการเรียนการสอนด้วยตนเอง (จัดเตรียมเฉพาะห้อง ไม่มีอุปกรณ์)
6.ขอใช้บริการจองห้อง Zoom Connect (จัดเตรียมเฉพาะห้อง ไม่มีอุปกรณ์)
หน่วยนวัตกรรมการเรียนรู้ดิจิตอล งานเทคโนโลยีการเรียนรู้และสร้างเสริมนวัตกรรม ฝ่ายทรัพยากรสนับสนุนการศึกษา โรงเรียนแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
งานเทคโนโลยีการเรียนรู้และสร้างเสริมนวัตกรรม
ฝ่ายทรัพยากรสนับสนุนการศึกษา
โรงเรียนแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ตำบล หาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ สงขลา 90110
074 451 533